1.1 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ ชนิดผลิตภัณฑ์
1.2 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ กำลังการผลิต
1.3 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ กรรมวิธีการผลิต
1.4 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ สภาพเครื่องจักร
1.5 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ ที่ตั้งโรงงาน
1.6 แก้ไขโครงการเกี่ยวกับ ทุนจดทะเบียน
การแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์
แนวทางการพิจารณาการแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ มี 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีที่ไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม
โครงการที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น ตู้เย็น แต่ต่อมาได้รับคำสั่งซื้อสินค้าชนิดอื่น เช่น ตู้แช่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน สามารถใช้เครื่องจักรร่วมกันได้ ในกรณีนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถยื่นขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ จากเดิม ตู้เย็น เป็น ตู้เย็นและตู้แช่ได้
การแก้ไขโครงการที่ไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มนี้ สามารถขอแก้ไขได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม แม้ว่าโครงการนั้นจะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงกการ
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยไม่ยื่นขอแก้ไขโครงการ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้น ต้องแยกลงบัญชีเพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากผู้ได้รับเสริมส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปจำหน่ายต่างประเทศ ก็ไม่สามารถนำหลักฐานการส่งออกมายื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบได้
นอกจากนี้ การที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งต้องยื่นขออนุญาตใช้เครื่องจักรนั้นเพื่อการอื่นอีกด้วย
2. กรณีที่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม
โครงการที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง เช่น ตู้เย็น แต่ต่อมาประสงค์จะขยายโครงการเพื่อผลิตสินค้าชนิดใหม่ เช่น เครื่องซักผ้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ อาจมีกรรมวิธีการผลิตบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และสามารถใช้เครื่องจักรบางส่วนร่วมกันได้ แต่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรบางส่วนเพิ่มเติม
ในกรณีนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมอาจยื่นเรื่องเพื่อขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม จากเดิม ตู้เย็น เป็น ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ได้ โดยมีแนวทางพิจารณา ดังนี้
2.1 | กรณีที่ยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ | ||||
มีแนวทางพิจารณา ดังนี้
|
|||||
2.2 | กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว | ||||
โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการในกรณีที่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมอีก แต่ทั้งนี้ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถนำเครื่องจักรที่ประสงค์จะลงทุนเพิ่มเติมไปยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ก็ได้ |
การยกเลิกผลิตภัณฑ์
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์บางรายการ สามารถยื่นคำร้องแก้ไขโครงการเพื่อยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ โดยมีแนวทางการพิจารณา 2 วิธี ดังนี้
1. ยังไม่ได้นำเครื่องจักร/วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกเข้ามา
กรณีที่ผู้ได้รับประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์บางรายการ โดยยังไม่เคยนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นเข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะพิจารณาให้ยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ แต่ต้องไม่ทำให้โครงการส่วนที่เหลือมีสาระสำคัญต่ำกว่าหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม ดังนี้
2. นำเครื่องจักร/วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกเข้ามาแล้ว
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าแล้ว แต่ต่อมาประสงค์จะยกเลิกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะพิจารณาให้ยกเลิกชนิดผลิตภัณฑ์ได้ตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับข้างต้น
แต่ทั้งนี้ เครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้านั้น จะต้องส่งคืนกลับไปต่างประเทศ หรือชำระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ดูรายละเอียดการชำระภาษีอากรในหัวข้อเครื่องจักรหรือวัตถุดิบ)
การเพิ่มกำลังการผลิต
แนวทางการพิจารณาการขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิต มี 5 วิธี ดังนี้
ก่อนแก้ไข : | มีกำลังผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปีละ 1,000,000 ตัว |
(เวลาทำงาน 8 ชม./วัน : 320 วัน/ปี) | |
หลังแก้ไข : | มีกำลังผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปีละ 3,000,000 ตัว |
(เวลาทำงาน 24 ชม./วัน : 320 วัน/ปี) |
2.1 | กรณีที่ยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ | |
มีแนวทางพิจารณา ดังนี้ | ||
2.1.1 | กรณีที่สิทธิประโยชน์ในการยื่นเป็นโครงการใหม่ แตกต่าง กับสิทธิประโยชน์ของโครงการเดิม จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการได้ เฉพาะกรณีที่เป็นการเพิ่มกำลังผลิตไม่เกิน 30% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรกเท่านั้น ในกรณีที่เพิ่มกำลังผลิตเกินกว่า 30% แต่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะขอแก้ไขโครงการโดยไม่ยื่นเป็นคำขอรับการส่งเสริมของโครงการใหม่ จะให้เพิ่มกำลังผลิตได้เพียง 30% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรกเท่านั้น ส่วนกำลังผลิตที่เกินกว่านี้จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งไม่ให้ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรซึ่งเกินกว่า 30% นี้ แต่ทั้งนี้ จะต้องนำเครื่องจักรในส่วนที่จะลงทุนเพิ่มเติมเข้ามาภายในระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรที่กำหนดอยู่เดิม และจะต้องเปิดดำเนินการเต็มโครงการภายในระยะเวลาที่กำหนดอยู่เดิม เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา |
|
2.1.2 | กรณีที่สิทธิประโยชน์ในการยื่นเป็นโครงการใหม่ไม่แตกต่างกับสิทธิประโยชน์ของโครงการเดิม อนุญาตให้แก้ไขได้ทุกกรณี แม้ว่าจะเพิ่มกำลังผลิตเกินกว่า 30% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรกก็ตาม |
|
2.2 | กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว | |
โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในกรณีที่จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมอีก แต่ทั้งนี้ ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถนำเครื่องจักรที่ประสงค์จะลงทุนเพิ่มเติมไปยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ก็ได้ |
การเพิ่มกำลังผลิตตามผลการตรวจสอบเปิดดำเนินการเต็มโครงการ
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรเข้ามาเกินกว่ากำลังผลิตที่ได้รับอนุมัติไว้ในบัตรส่งเสริม และประสงค์จะขอเพิ่มกำลังผลิตตามกำลังผลิตของเครื่องจักรที่มีอยู่จริง จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ ตามผลการตรวจสอบเปิดดำเนินการเต็มโครงการของสำนักงาน
การแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตโดยวิธีนี้ จะทำให้บริษัทสามารถใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำลังผลิต ในส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริม ได้ตั้งแต่วันที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการเป็นต้นไปเท่านั้น
ในกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมมีกำลังผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม แต่ยังไม่ประสงค์จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการ จะไม่อนุญาตให้แก้ไขกำลังผลิตด้วยวิธีนี้
การเพิ่มกำลังผลิตโดยวิธีอื่น
นอกเหนือจากการเพิ่มกำลังผลิตข้างต้นแล้ว อาจมีกรณีการเพิ่มกำลังผลิตจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กลง และมี Cycle Time ในการผลิตลดลง จึงมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นโดยบริษัทไม่จำเป็นต้องลงทุนเครื่องจักรหรือปรับปรุงประสิทธิภาพใดๆ
กรณีดังกล่าวนี้ จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตเป็นกรณีๆ ไป ตามข้อเท็จจริงของโครงการนั้น
แต่ทั้งนี้ การเพิ่มกำลังผลิตจากประสิทธิภาพของบุคลากร ไม่อยู่ในข่ายที่จะพิจารณาให้เพิ่มกำลังผลิตได้ ดังนั้น ในการขอรับการส่งเสริมจึงควรคำนวณกำลังผลิตสูงสุดจากกำลังผลิตของเครื่องจักรโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องคำนวณ Loss Factor ซึ่งเกิดจากบุคลากร
การลดกำลังผลิต
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะลดกำลังผลิตสินค้าบางรายการหรือทุกรายการ สามารถยื่นคำร้องแก้ไขโครงการเพื่อลดกำลังผลิตได้ โดยมีแนวทางการพิจารณา 2 วิธี ดังนี้
การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต
2.1 | การว่าจ้างในส่วนที่ผู้ได้รับส่งเสริมเดิมผลิตอยู่เอง จะพิจารณาว่าทำให้สาระของโครงการลดลง เนื่องจากเป็นการนำขั้นตอนที่ผู้ได้รับส่งเสริมผลิตอยู่เดิมไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาด้วยว่า ขั้นตอนการผลิตที่เหลืออยู่ในโครงการภายหลังจากการแก้ไข ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่ให้การส่งเสริมได้ คือมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้หรือไม่ กรณีการนำขั้นตอนบางส่วนไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตให้ ทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่า20% ของรายได้ จะไม่อนุญาตให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต |
2.2 | การว่าจ้างในส่วนที่ผู้ได้รับส่งเสริมเดิมไม่ได้ผลิตอยู่เอง จะพิจารณาว่าไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงจากเดิม เนื่องจากเป็นการเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนขึ้นใหม่ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื่อมโยงในประเทศ จึงจะพิจารณาอนุญาตให้ได้ทุกกรณี |
3.1 | ยังไม่ได้นำเครื่องจักร/วัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตเข้ามา กรณีที่ผู้ได้รับประสงค์จะลดขั้นตอนการผลิต โดยยังไม่เคยนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตนี้เข้ามาโดยได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะพิจารณาให้ลดขั้นตอนการผลิตได้ แต่ต้องไม่ทำให้โครงการส่วนที่เหลือมีสาระสำคัญต่ำกว่าหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม ดังนี้
|
3.2 | นำเครื่องจักร/วัตถุดิบในส่วนที่จะลดขั้นตอนการผลิตเข้ามาแล้ว กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรหรือวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าแล้ว แต่ต่อมาประสงค์จะลดขั้นตอนการผลิต จะพิจารณาให้ลดขั้นตอนการผลิตได้ตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับข้างต้น แต่ทั้งนี้ เครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ซึ่งใช้ในขั้นตอนการผลิตที่ขอยกเลิกนี้ จะต้องส่งคืนกลับไปต่างประเทศ หรือชำระภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด |
การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป
กรณีที่เกิดปัญหาในการผลิต หรือกรณีที่คำสั่งซื้อสินค้าบาง Model มีน้อย ไม่คุ้มต่อการผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนขึ้นเองทุกรายการ ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการผลิตก็ได้
การพิจารณาการขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป มีแนวทาง ดังนี้
4.1 | นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปไม่เกิน 10% ของปริมาณผลิตจริงในแต่ละปี จะผ่อนผันให้ทุกกรณี โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าเพิ่มของโครงการ |
4.2 | นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเกินกว่า 10% ของปริมาณผลิตจริงในแต่ละปี จะพิจารณาสาระสำคัญของโครงการด้วยว่า การนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิต จะทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการลดลงต่ำกว่า 20% ของรายได้หรือไม่ หากต่ำกว่า 20% อาจไม่ผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตให้ |
การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตชั่วคราว
กรณีที่เกิดปัญหาในการผลิตเป็นการเร่งด่วน ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการผลิตเป็นการชั่วคราว โดยอาจกำหนดปริมาณหรือระยะเวลาก็ได้ เช่น ขอนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกจำนวน 50,000 ชิ้น หรือขอนำเข้าชิ้นส่วนโลหะเป็นเวลา 1 ปี เป็นต้น
ในกรณีดังกล่าว จะพิจารณาตามเหตุผลและตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป โดยอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมอื่นๆ ไว้ด้วยก็ได้ เช่น รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่นำชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิตนี้ อาจไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
การแก้ไขกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ
ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้ได้รับส่งเสริมอาจขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ นอกเหนือจากแนวทางข้างต้นก็ได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับการแก้ไขนั้นๆ ก็ได้
การแก้ไขสภาพเครื่องจักร
โครงการที่ได้รับส่งเสริมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา จะมีเงื่อนไขกำหนดให้ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม เพื่อลดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงาน และป้องกันมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อม
ผู้ได้รับส่งเสริมที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมว่าจะใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้นในโครงการ จะมีเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้นในโครงการ
แต่ผู้ได้รับส่งเสริมที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมว่าจะมีการใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการบางส่วนหรือทั้งหมด จะมีเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการได้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้
เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า เป็นเงื่อนไขบนหลักการ ไม่ใช่เงื่อนไขตามรายการของเครื่องจักร ดังนั้น ผู้ได้รับส่งเสริมที่มีเงื่อนไขอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ จึงไม่ต้องยื่นเรื่องเพื่อขอแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวอีก แม้ว่าจะนำเครื่องจักรเก่าเข้ามาใช้ในโครงการมากกว่าหรือน้อยกว่าปริมาณที่เคยเสนอไว้ในคำขอรับการส่งเสริมก็ตาม
ส่วนผู้ได้รับส่งเสริมที่เคยเสนอโครงการว่าจะใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งหมด แต่ต่อมาประสงค์จะขอใช้เครื่องจักรเก่าบางส่วน จะต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่า แต่หลังจากได้รับอนุมัติให้แก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวไว้แล้วครั้งหนึ่ง ก็ไม่ต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวในภายหลังอีกเช่นกัน
การแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่า มีแนวทางพิจารณา ดังนี้
1.1 | เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้งานชั่วคราว และส่งกลับออกไปภายใน 1 ปี |
1.2 | เครื่องจักรที่เป็นยานพาหนะในกิจการขนส่งทางอากาศหรือกิจการเดินเรือ |
1.3 | แม่พิมพ์ หรือเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่มีลักษณะใช้งานในลักษณะเดียวกัน |
การแก้ไขที่ตั้งโรงงาน
โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม จะมีเงื่อนไขให้ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยโครงการดังกล่าวประกอบด้วย
ส่วนกิจการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ จะตั้งโรงงานในเขตใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องไม่อยู่ในเขตหวงห้ามตามประกาศผังเมืองรวมของจังหวัด และจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
กรณีที่ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ที่ตั้งโรงงาน ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงานได้ โดยจะให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของที่ตั้งใหม่ ตามหลักเกณฑ์ ณ วันที่โครงการนั้นได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม โดยจะเริ่มนับวันที่เริ่มใช้สิทธิเป็นวันเดียวกันกับวันที่เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ครั้งแรกของโครงการนั้นๆ
ตัวอย่างการให้สิทธิประโยชน์ในการเปลี่ยนที่ตั้งโรงงาน
ก่อนแก้ไข | หลังแก้ไข | |
ที่ตั้งโรงงาน | ชลบุรี (เขต 2) | ปราจีนบุรี (เขต 3) |
การยกเว้นภาษีเงินได้ | 3 ปี | 8 ปี |
1 เมย 56 - 31 มีค 59 | 1 เมย 56 - 31 มีค 64 | |
การยกเว้นอากรวัตถุดิบ | 1 ปี (+ขยาย 2 ปี) | 5 ปี |
1 กพ 56 - 31 มค 59 | 1 กพ 56 - 1 มค 61 |
โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นนี้ จะต้องใช้ภายหลังจากได้ย้ายโรงงานไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่แล้วเท่านั้น
ในกรณีที่เปลี่ยนที่ตั้งจากเดิมซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่า ไปยังที่ใหม่ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์น้อยกว่า เช่น การเปลี่ยนที่ตั้งจากเขต 2 ไปยังเขต 1 ก็จะถูกลดสิทธิประโยชน์ลงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถานที่ตั้งใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน
การแก้ไขเงื่อนไขทุนจดทะเบียน
โครงการที่ได้รับส่งเสริมลงทุน จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีภาระจากเงินกู้หรือสินเชื่อมากจนเกินไป
คณะกรรมการได้กำหนดเงื่อนไขอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไว้ดังนี้
2.1 | กรณีที่กิจการเดิมมีกำไรสะสม |
จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สิน : ส่วนผู้ถือหุ้น (รวมโครงการขยาย) ไม่เกิน 3 : 1 หรืออาจเกินกว่านี้ก็ได้ตามความเหมาะสม | |
2.2 | กรณีที่กิจการเดิมขาดทุนสะสม |
จะต้องมีอัตราส่วนหนี้สิน (เฉพาะโครงการส่วนขยาย) : ทุนจดทะเบียนที่จะเรียกชำระเพิ่มขึ้น ไม่เกิน 3 : 1 |
ในบัตรส่งเสริมได้กำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนไว้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
ตัวอย่าง : จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทก่อนออกบัตรส่งเสริม และจะต้องเรียกชำระไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทก่อนเปิดดำเนินการ
ในกรณีที่มีปัญหาในการเรียกชำระทุนจดทะเบียน ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอแก้ไขเงื่อนไขทุนจดทะเบียนได้ ตามแนวทางดังนี้